ถอดบทเรียนจากการอบรม

ถอดบทเรียนจากการอบรม

โครงการ การผลิตข้าวคุณภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 
เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างศูนย์ข้าวชุมชน และมูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม(ประเทศไทย)

         ซึ่งเมื่อวันที่ 12-13 ธันวาคม ที่ผ่านมา ทางมูลนิธิฯได้ลงพื้นที่ไปจัดการอบรมที่ศูนย์ข้าวชุมชน อำเภอพิชัยและอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี ดร.ตะวัน ห่างสูงเนิน ประธานมูลนิธิฯบรรยายในหัวข้อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเผาบนพื้นที่เกษตรกรรม และได้เชิญ นายอัษฎางค์ สีหาราช ประธานคณะกรรมการกลางศูนย์ข้าวชุมชนระดับประเทศ มาเป็นวิทยากรพิเศษ บรรยายหัวข้อการไถกลบตอซังและการลดการเผาบนพื้นที่เกษตรกรรม

มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด 56 คน พื้นที่ปลูก 1,573 ไร่ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นเกษตรกรที่เผาตอซังฟางข้าว และ 10 เปอร์เซ็นต์ ไม่เผาตอซังฟางข้าว
จากการอบรม พูดคุยกับเกษตรกรที่ยังเผาก็ได้ทราบถึงปัญหาและที่มาของการเผาว่าทำไมถึงต้องเผา และเกษตรกรที่ไม่เผานั้นมีวิธีการจัดการอย่างไร ซึ่งได้สรุปเป็นข้อๆดังนี้

ทำไมต้องเผา
1. รถไถไม่ยอมไถหากไม่เผา เพราะไถยาก
2. จำเป็นต้องเผาเพราะมีโรคไหม้คอรวง
3. เผาเพื่อทำลายข้าวดีดข้าวเด้ง และเผากำจัดศัตรูพืช
4. คนเลี้ยงเป็ดเผาให้
5. รถอัดฟางไม่เพียงพอ
6. ขาดการประสานงานกับรถอัดฟาง หรือผู้รับซื้อฟาง
7. เพื่อเตรียมพื้นที่ปลูกข้าวโพด
8. ขาดวิธีการจัดการที่เหมาะสม (ขาดองค์ความรู้)

ไม่เผาทำอย่าไร
1. ขายฟางไร่ล่ะ 40 บาท โดยมีทางประธานกลุ่มเป็นผู้ประสานงาน กับทางมูลนิธิฯในการจัดหาผู้รับซื้อ
2. รวมตัวเกษตรกรที่ต้องการอัดฟางขาย จ้างรถอัดฟางมาอัดในราคาก้อนล่ะ 12 บาท แล้วขายให้พ่อค้าฟางในราคาก้อนล่ะ 25 บาท
3. ใช้รถเกี่ยวแบบกระจายฟาง ปล่อยน้ำเข้านา แล้วเติม พด.2 น้ำหมัก หรือปล่อยเป็ดลงไปเหยียบ หมักไว้ประมาณ 7 วัน แล้วปล่อยน้ำออกให้แห้ง ฟางจะกรอบไถง่าย
แล้วทำการไถกลบ
4. ใช้ผานไถหัวหมู หรือ ผานสาม ในการไถกลบ

แนวทางการแก้ปัญหาการเผาตอซังฟางข้าวนี้จะได้ผลอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับเกษตรกรเองต้องสร้างใจที่ไม่เผาก่อน และต้องมีกลุ่มที่เหนียวแน่นแข็งแรง มีการจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อลดการเผาและเข้าสู่เกษตรอินทรีย์ในที่สุด

หลังการอบรมทางมูลนิธิฯได้ติดป้ายรณรงค์ลดการเผาจำนวน 9 ป้าย กระจายตามพื้นที่ใกล้ๆศูนย์ข้าวชุมชนนั้นๆ และได้มอบเมล็ดปอเทืองซึ่งเป็นพืชบำรุงดิน ให้แก่หัวหน้ากลุ่มเพื่อแจกให้กับสมาชิกไปปลูกในแปลงนาเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยต่อไป 

 4602
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์