ความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืน

ความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืน

ความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืน
Cr images : www.pixabay.com

ความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืน

ระเทศไทยของเราเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ในน้ำมีปลาในนามีข้าวเป็นคำพูดที่เราไม่ได้ยินมานานมากแล้ว ย้อนกลับมาดูตัวเราว่ามีความมั่นคงทางอาหารจริงหรือไม่ กับการนำเข้าผลผลิตทางการเกษตรจากต่างประเทศจำนวนมาก และเกษตรกรเองก็เปลี่ยนจากการผลิตเพื่อบริโภคเองมาเป็นการผลิตเพื่อการค้าโดยเน้นการปลูกเฉพาะพืชเชิงเดี่ยวเป็นจำนวนมาก เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ยางพารา หมุนเวียนสับเปลี่ยนแบบนี้ไม่รู้จบ ประกอบกับเกษตรกรไทยขาดแนวคิดเรื่องการทำเกษตรแบบยั่งยืน เมื่อปลูกพืชชนิดใดแล้วก็จะพากันปลูกตาม ๆ กัน เน้นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวให้ได้จำนวนมาก ๆ จนเกิดสภาวะล้นตลาดและการขาดตลาดสำหรับพืชบางชนิด เมื่อมีการปลูกจำนวนมาก ผลที่ได้ทำให้เกิดปัญหาราคาตกต่ำตามมา ทั้งเกษตรกรยังต้องมีการพึ่งพาปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงมากขึ้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาของการปนเปื้อนสารเคมีในพืชผลทางการเกษตร เกษตรกรจำเป็นต้องจ่ายเพิ่มมากขึ้นในจุดนี้เพื่อแลกมาด้วยสุขภาพที่ย่ำแย่ลงและผลผลิตที่ไม่เป็นราคา สิ่งที่กล่าวมานี้จึงนำมาสู่วิกฤตทางอาหารในที่สุด แม้แต่การผลิตอาหารให้ได้จำนวนมาก แต่ยังต้องใช้สารเคมีในการควบคุมเป็นหลัก ยิงคำถามไปที่ผู้บริโภค ว่าต้องการผลผลิตเหล่านี้จริง ๆ หรือ…

        ความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืน คือ ประชากรสามารถเข้าถึงอาหารได้โดยไม่ขาดแคลน เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ปลอดภัย ตอบสนองต่อความต้องการ เพียงพอต่อการบริโภคเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีจิตใจที่สดใสเบิกบาน

การทำเกษตรแบบยั่งยืนนำมาสู่ความมั่นคงทางอาหาร

        แนวคิดการทำเกษตรแบบยั่งยืน คือ การทำเกษตรแบบพึ่งพาตนเองที่เน้นการผลิตอาหารตามความพอเหมาะพอดีเป็นหลัก สามารถดูแลได้ทั่วถึงจึงไม่ต้องใช้สารเคมีควบคุมเหมือนการปลูกในปริมาณมาก และเกษตรแบบยั่งยืนจะเน้นไปที่การอนุรักษ์ทั้งทรัพยากรและระบบนิเวศไปพร้อมกันด้วย โดยอาศัยภูมิปัญญาเดิมของท้องถิ่นนำเข้ามาปรับใช้ให้เข้ากับเทคโนโลยีในปัจจุบัน สำคัญคือเน้นไปที่การทำเกษตรแบบปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ถ้าเกษตรกรทุกคนทำได้แบบนี้ปัญหาการขาดความมั่นคงทางอาหารก็จะไม่มีเลย

ความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืน

        อย่างในปัจจุบัน (ปลายปี 2559) เราได้เห็นข่าวของราคาของข้าวตกต่ำ ราคาที่ตกต่ำนั้นส่งผลให้เกษตรกรออกมาประท้วงเป็นจำนวนมาก ซึ่งสมัยก่อน ข้าวได้ชื่อว่าเป็นพืชส่งออกหลักของประเทศ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมากมายมหาศาล แต่ทุกวันนี้อาจไม่เป็นเช่นนั้นแล้วเนื่องจากราคาที่ตกต่ำ และช่วงนี้เราก็ได้เห็นชาวนาออกมาสีข้าวขายให้ผู้บริโภคเอง เป็นการตัดวงจรของโรงสีและพ่อค้าคนกลางที่ทำให้ผู้บริโภคซื้อข้าวแพงแต่ชาวนากลับขายข้าวได้ราคาถูก (ผมว่าชาวนาน่าจะขายเองแบบนี้ตั้งนานแล้วนะครับ) ถ้าปลูกแล้วขายให้โรงสีก็ราคาไม่ดี รอให้รัฐบาลไหน ๆ ช่วย ก็ผ่านวิกฤตแบบเดิม ๆ มาซ้ำแล้วซ้ำเล่า อาชีพการทำเกษตรเป็นอาชีพที่มีเสน่ห์ แค่ปลูกข้าวอย่างเดียวมีวิธีปลูกได้มากกว่า 10 วิธี สร้างแบรนด์ มีสตอรี่ ใช้เทคโนโยลี รวมกลุ่มตั้งสหกรณ์ จัดตั้งวิสาหกิจชุมชน ปลูกเอง สีเอง ขายเอง ส่งต่อผลผลิตไปสู่มือผู้บริโภคโดยตรง ทั้งหมดนี้คือความมั่นคงทางอาหารที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตโดยตรง ถึงเวลาแล้วรึยังที่เราต้องเปลี่ยน เปลี่ยนจากการทำเกษตรที่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอก มาเป็นการทำเกษตรที่ยืนได้ด้วยขาของตัวเองอย่างยั่งยืน เมื่อนั้นเสียงหัวเราะที่เราเคยได้ยินกันและแววตาแห่งความสุขของเกษตรกรก็จะกลับมาสู่สังคมไทยอีกครั้ง

สมการ

” ความมั่นคงทางอาหาร “

จึงเท่ากับ

” ความมั่นคงทางชีวิต “

ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างแน่นอน

ขอบคุณบทความจากคุณ Adisak : https://www.organicfarmthailand.com

 5281
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์