ข่าวสารและกิจกรรม

ข่าวสารและกิจกรรม

196 รายการ
มเจ้าหน้าที่ส่งเสริม​มูลนิธิ​ ฯลฯ ตรวจเยี่ยม​เกษตร​กรที่​เป็นสมาชิกลดการเผาที่ก้าวเข้าสู่ปีที่​ 3​ ของ​ ต.ขี้เหล็ก​ อ.แม่ริม​ จ.เชียงใหม่​ ปีนี้ผลผลิต​สวย​ น้ำหนักดี
444 ผู้เข้าชม
วันที่ 18 ตุลาคม 2564นายวชิรวิทย์ ไชยวงศ์ ในนามเจ้าหน้าที่มูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม(ประเทศไทย) ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลวังทอง อ.วังเหนือ จ.ลำปาง สนับสนุนกากน้ำตาล ปริมาณ 40 กิโลกรัม และวัตถุดิบในการจัดทำอาการสัตว์หมักส่งมอบให้กับ กลุ่มทำอาหารสัตว์หมักจากซังข้าวโพด และต้นข้าวโพด บ้านเมืองตึงเหนือ หมู่ที่ 2 ต.วังทอง อ.วังเหนือ จ.ลำปาง ซึ่งเกษตรกรกลุ่มนี้มีความสนใจต่อเนื่องมาจากการจัดอบรมโครงการผลิตอาหารสัตว์หมักจากซังข้าวโพด และต้นข้าวโพด วันที่ 16 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งในช่วงเดือน พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมาได้รวมกลุ่มมีสมาชิก จำนวน 5 ราย และได้มีการจัดทำอาหารสัตว์หมักจากซังข้าวโพด และต้นข้าวโพดได้ปริมาณ 950 กิโลกรัม หลังจากนั้นได้มีเกษตรกรสนใจเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้มีสมาชิกกลุ่มในปัจจุบันจำนวน 9 ราย เกษตรกรสามารถใช้ซังข้าวโพด และต้นข้าวโพดที่เหลือในไร่พื้นที่การเกษตรนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตอาหารสัตว์หมัก เพื่อให้เกษตรกรได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของซังข้าวโพด และต้นข้าวโพด และลดต้นทุนในการซื้ออาหารสัตว์ สามารถใช้ประโยชน์จากซังข้าวโพด และต้นข้าวโพดได้มากที่สุดโดยไม่มีการเผาบนพื้นที่การเกษตรลดการเกิดมลพิษทางอากาศ (Black Carbon) และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) สำหรับความคืบหน้าการทำอาหารสัตว์หมักจากซังข้าวโพด และต้นข้าวโพด จะมีการขยายผลต่อไปที่หมู่บ้านไหนในครั้งหน้าทางแอดมินจะรายงานให้ทราบอีกครั้ง
368 ผู้เข้าชม
มูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย) ได้ส่งมอบกล้าฟ้าทะลายโจร สมุนไพรสู้โควิด จำนวน 200 ต้น เพื่อนำไปปลูกในชุมชนแต่ละพื้นที่ จำนวนชุมชนละ 65 ต้น ประกอบด้วย1. ชุมชนบ้านขี้เหล็ก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่2. ชุมชนบ้านก้อทุ่ง ต. ก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน3. ชุมชนบ้านวังทอง อ.วังเหนือ จ. ลำปาง#มูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม(ประเทศไทย)
468 ผู้เข้าชม
วันที่ 12 สิงหาคม 2564 มูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม(ประเทศไทย) รวมกับเครือข่ายในอำเภอแม่ลาน้อย แม่ฮ่องสอน ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะข้าพระพุทธเจ้า มูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย)
592 ผู้เข้าชม
โครงการปลูกหญ้ารูซี่ อาหารสัตว์ทดแทน เพื่อเป็นทางเลือกทางรอดของเกษตรกรเนื่องด้วยพื้นที่ตำบลวังทอง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ซึ่งมีการเลี้ยงโคในพื้นที่การเกษตร จำนวน 468 ตัว พบว่าเกษตรกรประสบปัญหาเกี่ยวการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์ให้แก่โค-กระบือ ที่เลี้ยงในพื้นที่ โดยปัจจุบันมีลักษณะการเลี้ยงแบบปล่อยเข้าป่า ซึ่งเป็นสาเหตุของการเผาป่า เพื่อสร้างแหล่งอาหารใหม่ในฤดูฝน และเลี้ยงปล่อยในพื้นที่การเกษตรหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวโพด มักจะประสบปัญหาขาดแคลนแหล่งอาหาร เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแหล่งอาหารเลี้ยงสัตว์ และลดการปล่อยเข้าป่าอันเป็นสาเหตุการเผาป่า เกษตรกรในพื้นที่มีความสนใจที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงโค-กระบือ ตามแนวทางการแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรด้วยการบริหารจัดการพื้นที่ โดยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวโพดเป็นพื้นที่ปลูกหญ้ารูซี่ทดแทน เพื่อสร้างแหล่งอาหารในการทำปศุสัตว์ ดังนั้นการนำหญ้ารูซี่มาปลูกทดแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะสามารถตอบสนองความต้องการทางอาหารให้แก่เกษตรกรที่เลี้ยงโค-กระบือ เพื่อเป็นแหล่งอาหารที่ยั่งยืน และยังสามารถสร้างรายได้เสริมจากการปลูกหญ้ารูซี่ ในการจำหน่ายให้แก่เกษตรกรที่ไม่ได้ผลิตอาหาร หรือขาดแคลนอาหารเลี้ยงโค-กระบือ ทั้งใน และนอกพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน
1813 ผู้เข้าชม
โครงการปลูกหญ้าแพงโกล่า อาหารสัตว์ทดแทนเพื่อเป็นทางเลือกทางรอดของเกษตรกรเนื่องด้วยพื้นที่ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ซึ่งมีการเลี้ยงโคในพื้นที่เกษตรตำบลก้อ จำนวน 2,572 ตัว พบว่าเกษตรกรประสบปัญหาเกี่ยวการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์ให้แก่โคที่เลี้ยงในพื้นที่ โดยปัจจุบันมีลักษณะการเลี้ยงแบบปล่อยเข้าป่า ซึ่งเป็นสาเหตุของการเผาป่า เพื่อสร้างแหล่งอาหารใหม่ในฤดูฝน และเลี้ยงปล่อยในพื้นที่การเกษตรหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวโพด มักจะประสบปัญหาขาดแคลนแหล่งอาหาร เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแหล่งอาหารเลี้ยงสัตว์ และลดการปล่อยเข้าป่าอันเป็นสาเหตุการเผาป่า เกษตรกรในพื้นที่มีความสนใจที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงโค ตามแนวทางการแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรด้วยการบริหารจัดการพื้นที่โดยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวโพดเป็นพื้นที่ปลูกหญ้าแพงโกล่าทดแทน เพื่อสร้างแหล่งอาหารในการทำปศุสัตว์ ดังนั้นการนำหญ้าแพงโกล่ามาปลูกทดแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะสามารถตอบสนองความต้องการทางอาหารให้แก่เกษตรกรที่เลี้ยงโค กระบือ เพื่อเป็นแหล่งอาหารที่ยั่งยืน และยังสามารถสร้างรายได้เสริมจากการปลูกหญ้าแพงโกล่าในการจำหน่ายให้แก่เกษตรกรที่ไม่ได้ผลิตอาหาร หรือขาดแคลนอาหารเลี้ยง โค-กระบือ ทั้งใน และนอกพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนในวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ได้ดำเนินการจัดหาท่อนพันธุ์แจกให้กับกลุ่มเกษตรทำปศุสัตว์ดำเนินการปลูกเพาะพันธุ์หญ้าแพงโกล่ากระจายครบทั้ง 4 หมู่บ้าน โดยมีเกษตรกรรับท่อนพันธุ์ไปขยายแล้ว ซึ่งเป็นเกษตรกรกลุ่มต้นแบบในการนำท่อนพันธุ์ขยายต่อให้แก่เกษตรกรได้กระจายการปลูกหญ้าอาหารสัตว์ให้ครอบคลุมและเพียงพอต่อการใช้เป็นอาหารสัตว์ในพื้นที่ตำบลก้อ
3038 ผู้เข้าชม
38066 ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์